เมนู

อรรถกถาอักขมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอักขมสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อกฺขโม โหติ รูปานํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปารมณ์
คือ ย่อมถูกราคะเป็นต้นซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ครอบงำเอา. ในบททั้งปวงก็
นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอักขมสูตรที่ 5

6. ปฏิสัมภิทาสูตร


ว่าด้วยธรรม 5 ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ


[86] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้บรรลุอัตถ-
ปฏิสัมภิทา 1 เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา 1 เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา 1
เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา 1 เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจน้อย
ใหญ่ของเพื่อนพรหมจรรย์ที่ควรจัดทำ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
ใคร่ครวญวิธีการในกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เป็นผู้สามารถเพื่อจัดแจง 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล้ว ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.
จบปฏิสัมภิทาสูตรที่ 6

อรรถกถาปฏิสัมภิทา


พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน
ในอรรถ 5. บทว่า ธมฺมปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน
ในธรรม 4 อย่าง. บทว่า นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้
ญาณแตกฉานในธรรมนิรุกติ. บทว่า ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่
เป็นผู้ได้ญาณ อันแตกฉานในญาณเหล่านั้น. แต่ภิกษุผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
นั้น ย่อมรู้ญาณ 3 เหล่านั้นเท่านั้น หาทำกิจของญาณเหล่านั้นไม่. บทว่า
อุจฺจาวจานิ ได้แก่ ใหญ่น้อย. บทว่า กึกรณียานิ ได้แก่ กิจที่ควรทำ
อย่างนี้.
จบอรรถกถาปฏิสัมภิทาสูตรที่ 6

7. สีลสูตร


ว่าด้วยธรรม 5 ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ


[87] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวม
ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมี
ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงไว้